วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
กาญจนบุรี มัลดีฟเมืองไทย
สวัสดีค่ะ!! พบกันอีกครั้งวันนี้จะพาไปรู้จัก
กาญจนบุรี มัลดีฟเมืองไทย
ล่องแพแม่น้ำแคว เขื่อนศรีนครินทร์ Rafting in ไปกันเลยค่ะ
การกำเนิดโลก
กำเนิดโลก
พบกับดิฉัน อีกแล้วนะคะ
นำความรู้เรื่องการกำเนิดโลกมาฝากค่ะ อยากให้รับชมรับฟังกันดูค่ะ
วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
Rare Footage Of Volcanic Lightning
Rare Footage Of Volcanic Lightning
สวัสดีค่ะ พบกันอีกครั้งกับ อ.อุ๊อิ๊
อยากจะให้ชมเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดที่
น่าตื่นตาตื่นใจกันเลยค่ะ
ข่าวดังข้ามเวลา : 9 ริกเตอร์ ทะเลคลั่ง
ข่าวดังข้ามเวลา : 9 ริกเตอร์ ทะเลคลั่ง
(ที่มา :https://www.youtube.com/watch?v=cWUDVZLNQ28)
การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
(ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=5AJ5jKtJ9lY&list=PLgm36wXFlxy9azSISHpQUN9x0pixpRbL7&index=8)
เพื่อไม่ให้ประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ จึงควรให้ความร่วมมือในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน ตามมาตรการดังต่อไปนี้
1. ร่วมกันใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหินและน้ำมันในกระบวนการผลิตและการขนส่งต่างๆ เพื่อลดปริมาณการปล่อยออกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง
2. ใช้พลังงานทดแทน เช่น จากแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล
3. รักษาป่าที่มีอยู่ให้คงอยู่ต่อไป ฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม ปลูกป่าเพิ่มเติม
4. ศึกษาและปรับปรุงวิธีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของพืช
5. ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและครัวเรือน
6. เพิ่มประสิทธิภาพในด้านการคมนาคม ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทดแทนเชื้อเพลิง หรือปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ เป็นต้น
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
หมายถึง การที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจกที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมายังผิวพื้นโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปไม่ให้หลุดออกนอกบรรยากาศ ทำให้โลกไม่เย็นจัดในเวลากลางคืน บรรยากาศเปรียบเสมือนผ้าห่มผืนใหญ่ที่คลุมโลกไว้ ก๊าซที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมาได้แต่ไม่ยอมให้รังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปหลุดออกนอกบรรยากาศ เรียกว่า ก๊าซเรือนกระจกก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญๆ มีอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีที่มาอย่างไร
ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม และการตัดไม้ทำลายป่า
2. ก๊าซมีเทน เกิดจาก การย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว
3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ เกิดจาก อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในการเกษตรกรรม
รู้ได้อย่างไรว่าโลกร้อนขึ้น และในอนาคตอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้นกี่องศาเซลเซียส
จากการเฝ้าติดตามความผันแปรของอุณหภูมิโลก พบว่า ในระยะ 10 ปี สุดท้าย พ.ศ. 2539 – 2548 เป็นช่วงที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกร้อนที่สุด
หากไม่มีมาตรการใดๆ ที่จะยับยั้งการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจกแล้ว คาดว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้น 1.5-4.5 องศาเซลเซียส ภายในปี ค.ศ. 2100
(ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=Y6n-dEw7B14&index=9&list=PLgm36wXFlxy9azSISHpQUN9x0pixpRbL7)
ภาวะโลกร้อน
(ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=4L2ZLr5BpNQ&index=10&list=PLgm36wXFlxy9azSISHpQUN9x0pixpRbL7)
ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อนคืออะไร อะไรคือสาเหตุของการภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง และ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยทางอ้อม คือ การตัดไม้ทำลายป่า
ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร
จากความผันแปรของภูมิอากาศมีผลต่อลักษณะอากาศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยก็มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น นั่นคือ ความรุนแรงของภัยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2549 ซึ่งอยู่ในช่วงต้นฤดูหนาวสูงกว่าปกติ 1.7 องศาเซลเซียส สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในรอบ 56 ปี ของประเทศ และในเดือนธันวาคม 2549 อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส)
ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีสภาพอากาศเป็นอย่างไร
จากการศึกษาข้อมูล 54 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2494 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มมีการตรวจวัดข้อมูล พบว่า อุณหภูมิของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งอุณหภูมิเฉลี่ย (รูปที่ 1) อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย(รูปที่ 2) และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย(รูปที่ 3) ส่วนปริมาณฝนและวันที่ฝนตกมีแนวโน้มลดลง (รูปที่ 4 และ5) ถึงแม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาทั้งปริมาณฝนและจำนวนวันฝนตกอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าค่าปกติ มากกว่าที่จะต่ำกว่าปกติก็ตาม
ในปี 2550 นี้ โลกและประเทศไทย มีสภาพอากาศเป็นอย่างไร
การเพิ่มขึ้นของก๊าชเรือนกระจกทำให้บรรยากาศโลกกักเก็บพลังงานความร้อนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสมดุลของพลังงานโลกเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศบริเวณผิวโลกสูงขึ้น คลื่นความร้อนเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องนานัปการ เช่น ฤดูกาล ปริมาณและการกระจายของน้ำฝนเปลี่ยนแปลงไป ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลขยายตัว เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดพายุและภัยพิบัติรุนแรงและถี่ขึ้น ในปี 2550 สภาพอากาศทั่วไปของโลก มีการคาดการณ์ไว้ว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้นทำให้มีอากาศร้อนจัดอีกปีหนึ่ง
สำหรับประเทศไทยในปี 2550 คาดว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน และฤดูฝนจะมาเร็วกว่าปกติ และในช่วงฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศจะสูงกว่าค่าปกติโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี
หากไม่มีการช่วยกันแก้ไขปัญหาโลกร้อนในวันนี้ ในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร
1. ทำให้ฤดูกาลของฝนเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการระเหยและการกลั่นตัวจะเร็วขึ้น หมายถึงว่า ฝนอาจจะตกบ่อยขึ้น แต่น้ำจะระเหยเร็วขึ้นด้วย ทำให้ดินแห้งเร็วกว่าปกติในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก
2. ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง นอกจากผลกระทบโดยตรงจากอุณหภูมิ ฝน ช่วงระยะเวลาฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว ยังเกิดจากผลกระทบทางอ้อมอีกด้วย คือ การระบาดของโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืช
3. สัตว์น้ำจะอพยพไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล แหล่งประมงที่สำคัญๆของโลกจะเปลี่ยนแปลงไป
4. มนุษย์จะเสียชีวิตเนื่องจากความร้อนมากขึ้น ตัวนำเชื้อโรคในเขตร้อนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศภายในเมืองจะรุนแรงมากขึ้น
เอลนีโญ - ลานีญา
เอลนีโญ - ลานีญา
เอลนีโญ (El Niño) เป็นคำในภาษาสเปนแปลว่า บุตรพระคริสต์ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศกับกระแสน้ำในมหาสมุทร มักเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส เมื่อกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นบริเวณชายฝั่งเปรู ส่งผลกระทบทางระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร ฝูงปลามีจำนวนลดลง ทำให้นกชายฝั่งขาดอาหาร ชาวประมงขาดรายได้ รวมทั้งเกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรงในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ อย่างไรก็ตามเอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีคาบเวลาที่แน่นอน ไม่ได้เกิดขึ้นทุกปี ขณะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งอาจกินเวลา 2 - 3 เดือนหรือนานกว่า เอลนีโญจึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “El Niño – Southern Oscillation” เรียกอย่างสั้นว่า "ENSO" หมายถึงความผันผวนซึ่งเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้สภาวะปกติ
โดยปกติบริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ลมสินค้าตะวันออก (Eastery trade winds) จะพัดจากประเทศเปรูชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ไปทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก แล้วยกตัวขึ้นบริเวณประเทศอินโดนีเซีย ทำให้มีฝนตกมากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ กระแสลมสินค้าพัดให้กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันทางทิศตะวันตก จนมีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลปกติประมาณ 60 – 70 เซนติเมตร แล้วจมตัวลง กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรซีกเบื้องล่างไหลเข้ามาแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวซีกตะวันออก นำพาธาตุอาหารจากก้นมหาสมุทรขึ้นมาทำให้ปลาชุกชุม เป็นประโยชน์ต่อนกทะเลและการทำประมงชายฝั่งของประเทศเปรูดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 สภาวะปกติ
สภาวะเอลนีโญ
เมื่อเกิดเอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวจึงเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางทิศตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาดังภาพที่ 2 บริเวณชายฝั่งจึงขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเลทำให้ชาวประมงเปรูขาดรายได้ ขณะที่เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้แต่ก็ทำให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ ไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซียในบางปีเป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญนั่นเอง
ภาพที่ 2 เอลนีโญ
สภาวะลานีญา
ลานีญา (La Niña) แปลว่า บุตรธิดา เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติแต่รุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออก (Trade wind) ที่พัดไปทางทิศตะวันออกมีกำลังแรงทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก แต่ที่บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูน้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันออกดังภาพที่ 3 ทำให้เกิดธาตุอาหารและฝูงปลาชุกชุม
ภาพที่ 3 ลานีญา
เราอาจกล่าวอย่างง่ายว่า เอลนีโญทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางกลับกันลานีญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งเอลนีโญและลานีญาเกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัด ภาพถ่ายจากดาวเทียมโทเพกซ์/โพซีดอน (Topex/Poseidon) ในภาพที่ 4 แสดงให้เห็นความต่างระดับของน้ำทะเลบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิก สีขาวแสดงระดับน้ำซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 14 เซนติเมตร สีม่วงหรือสีเข้มแสดงระดับน้ำซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ -18 เซนติเมตร ขณะที่เกิดลานีญา - เอลนีโญ
ภาพที่ 4 ระดับน้ำพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิก
(ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=dox4dlXsp5M&index=6&list=PLgm36wXFlxy9azSISHpQUN9x0pixpRbL7)
ข้อมูลจาก:http://www.lesa.biz/earth/hydrosphere/elnino
แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด ที่ อ.พาน จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับชาวเชียงรายเป็นอย่างมาก บ้านบางหลังพัง บางหลังเกิดรอยร้าว ถนนบางสายเกิดรอยแยก รวมถึงอาคาร สถานที่ก็ได้รับความเสียหายเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ที่วัดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 6.3 แมกนิจูด อีกทั้งยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมา 278 ครั้ง (ข้อมูลเมื่อเวลา 06.20 น. วันที่ 7 พฤษภาคม 2557)อย่างไรก็ดี เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนพะเยาที่เลื่อนตัวในแนวราบแบบเหลื่อมซ้ายระนาบเดียวกัน ซึ่งประเทศไทยยังมีรอยเลื่อนอยู่อีกมาก และมีถึง 14 รอยเลื่อนที่มีพลัง อาจจะทำให้เกิดเหตุแผ่นดินไหวซ้ำได้อีก อ่าน "14 รอยเลื่อนมีพลังในไทย ที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหว"
แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว คืออะไร และผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ
แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร
เว็บไซต์กรมทรัพยากรธรณี ได้ระบุว่า แผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลอดปล่อยพลังงาน เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ส่วนสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวนั้น มี 2 สาเหตุใหญ่ ได้แก่
1. การกระทำของมนุษย์ อาทิ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่ เป็นต้น
2. การเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎีดังนี้..
- ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก
โดยแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
- ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ
โดยแผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน และเมื่อรอยเลื่อนเคลื่อนตัวมาจุดหนึ่ง วัตถุจะขาดออกจากกันและเสียรูปอย่างมาก พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร สาเหตุแผ่นดินไหว เพราะอะไรมาดูกัน
แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร สาเหตุแผ่นดินไหว เพราะอะไรมาดูกัน
แผ่นดินไหวในประเทศไทย
จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่ผ่านมา แนวของศูนย์กลางแผ่นดินไหวส่วนมากจะอยู่รอบ ๆ ประเทศไทย แต่ก็ส่งผลกระทบต่อบ้านเราไม่มากก็น้อยเช่นกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริเวณและแรงสั่นสะเทือน ส่วนในประเทศไทยนั้น ก็เคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว เนื่องจากรอยเลื่อนในประเทศที่ยังเคลื่อนตัวอยู่ โดยรอยเลื่อนเหล่านี้จะอยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ ซึ่งจะมีแรงสั่นสะเทือนแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ เราขอรวบรวมเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย ที่มีขนาดเกิน 5 แมกนิจูด มาให้ได้ทราบกัน http://www.seismology.tmd.go.th/earthquakestat.html
- วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2518 แผ่นดินไหว 5.6 แมกนิจูด ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เกิดจากรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี
- วันที่ 22 เมษายน 2526 แผ่นดินไหว 5.9 แมกนิจูด ที่ อ.ศรสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เกิดจากรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
- วันที่ 1 ตุลาคม 2532 แผ่นดินไหว 5.3 แมกนิจูด ที่ พรมแดนไทย-พม่า เกิดจากรอยเลื่อนเชียงแสน
- วันที่ 11 กันยายน 2537 แผ่นดินไหว 5.1 แมกนิจูด ที่ อ.พาน จ.เชียงราย เกิดจากรอยเลื่อนใน จ.เชียงราย
ส่วนล่าสุด วันที่ 5 พฤษภาคม 2557 แผ่นดินไหว 6.3 แมกนิจูด ที่ อ.พาน จ.เชียงราย เกิดจากรอยเลื่อนพะเยา
ดูสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในรอบ 40 ปีในประเทศไทยทั้งหมด คลิกค่ะ
ขนาดของแผ่นดินไหว กับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น
ขนาดของแผ่นดินไหว กับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น
สำหรับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด ถนนและทางรถไฟบิดเบี้ยวโค้งงอ เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน
รวมไปถึงเกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารขัดข้อง ขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง ส่งผลต่อการลงทุน การประกันภัย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นดินไหวว่ามากน้อยแค่ไหน และต้องดูจุดกำเนิดว่าอยู่บริเวณใด เนื่องจากถึงแม้แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก แต่ถ้าอยู่ไกล ความสั่นสะเทือนของคลื่นที่มาถึงสิ่งปลูกสร้างก็จะเบาลงมาก หากขนาดปานกลางแต่จุดกำเนิดใกล้กับอาคารก็จะทำให้เกิดความเสียหายในระดับรุนแรงได้ และในกรณีที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงมาก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมด และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในส่วนของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นใต้ทะเล แรงสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดคลื่นยักษ์ หรือที่เรียกว่า "สึนามิ" ซึ่งมีความเร็วคลื่น 600-800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถก่อให้เกิดน้ำท่วม สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับสิ่งก่อสร้างที่ติดอยู่ชายฝั่งทะเล
(ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=BN4XjLodvf0&list=PLgm36wXFlxy9azSISHpQUN9x0pixpRbL7&index=5)
ข้อมูลจาก:http://hilight.kapook.com/view/101733
ข้อมูลจาก:http://hilight.kapook.com/view/101733
สึนามิ
คลื่นสึนามิ
คลื่นสึนามิ (Tsunami) เป็นคลื่นที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว แต่คลื่นผิวน้ำที่เรารู้จักกันทั่วไปเกิดจากแรงลมพัด พลังงานจลน์จากอากาศถูกถ่ายทอดสู่ผิวน้ำทำให้เกิดคลื่น ขนาดของคลื่นจึงขึ้นอยู่กับความเร็วลม หากสภาพอากาศไม่ดีมีลมพายุพัด คลื่นก็จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ในสภาพปกติคลื่นในมหาสมุทรจะมีความสูงประมาณ 1 - 3 เมตร แต่คลื่นสึนามิเป็นคลื่นยักษ์มีขนาดใหญ่กว่าคลื่นผิวน้ำหลายสิบเท่า พลังงานจลน์จากแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทรถูกถ่ายทอดจากใต้เปลือกโลกถูกถ่ายทอดขึ้นสู่ผิวน้ำ แล้วขยายตัวทุกทิศทุกทางเข้าสู่ชายฝั่ง คำว่า “สึ” เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่าท่าเรือ "นามิ" แปลว่าคลื่น ที่เรียกเช่นนี้เป็นเพราะ ชาวประมงญี่ปุ่นออกไปหาปลา พอกลับมาก็เห็นคลื่นขนาดยักษ์พัดทำลายชายฝั่งพังพินาศจุดกำเนิดคลื่นสึนามิ
คลื่นสึนามิมีจุดกำเนิดจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณเขตมุดตัว (Subduction zone) ซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent plate boundary) เมื่อแผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนปะทะกัน หรือชนเข้ากับแผ่นธรณีทวีป แผ่นมหาสมุทรซึ่งมีความหนาแน่นจะจมตัวลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ระดับลึกดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 แผ่นธรณีมหาสมุทรปะทะกัน
เมื่อเปลือกโลกใต้มหาสมุทร ยุบตัวลงเป็นร่องลึกก้นสมุทร (Oceanic trench) น้ำทะเลที่อยู่ด้านบนก็จะไหลยุบตามลงไปด้วยดังภาพที่ 2 น้ำทะเลในบริเวณข้างเคียงมีระดับสูงกว่า จะไหลเข้ามาแทนที่แล้วปะทะกัน ทำให้เกิดคลื่นสะท้อนกลับในทุกทิศทุกทาง (เหมือนกับการที่เราขว้างก้อนหินลงน้ำ) ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 การเกิดคลื่นสึนามิ
นอกจากสาเหตุจากแผ่นดินไหวแล้ว คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นจากภูเขาไฟระเบิด ภูเขาใต้ทะเลถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชนมหาสมุทร แรงสั่นสะเทือนเช่นนี้ทำให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์ที่มีฐานกว้าง 100 กิโลเมตร แต่สูงเพียง 1 เมตร เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 700 – 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อคลื่นเดินทางเข้าใกล้ชายฝั่ง สภาพท้องทะเลที่ตื้นเขินทำให้คลื่นลดความเร็วและอัดตัวจนมีฐานกว้าง 2 – 3 กิโลเมตร แต่สูงถึง 10 – 30 เมตร ดังภาพที่ 3 เมื่อคลื่นสึนามิกระทบเข้ากับชายฝั่งจึงทำให้เกิดภัยพิบัติมหาศาล เป็นสาเหตุการตายของผู้คนจำนวนมาก เนื่องมาจากก่อนเกิดคลื่นสึนามิเพียงชั่วครู่ น้ำทะเลจะลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนบนชายหาดประหลาดใจจึงเดินลงไปดู หลังจากนั้นไม่นาน คลื่นยักษ์ก็จะถาโถมสู่ชายฝั่ง ทำให้ผู้คนเหล่านั้นหนีไม่ทัน
ภาพที่ 3 ขนาดของคลื่นสึนามิ
คลื่นสึนามิบริเวณประเทศไทย
สถิติที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ จะมีการเกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่โดยเฉลี่ยทุกๆ 15 – 20 ปี แต่โดยส่วนมากแล้วจะเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากเป็นมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีอาณาเขตปกคลุมครึ่งหนึ่งของเปลือกโลก จึงมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้มากที่สุด คลื่นสึนามิที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีขนาดสูงถึง 35 เมตร ที่เกาะสุมาตรา เกิดขึ้นจากแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากาตัว เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2426
คลื่นสึนามิในประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เกิดขึ้นเนื่องจากแผ่นดินไหวที่บริเวณร่องลึกซุนดรา (Sundra trench) เกิดการยุบตัวของเปลือกโลกบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีอินเดีย (India plate) กับแผ่นธรณีพม่า (Burma microplate) ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน 9.1 ริกเตอร์ โดยมีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตราดังภาพที่ 4 เหตุการณ์นี้ทำให้คนตายมากกว่า 226,000 คน ตามชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย ในจำนวนนี้เป็นคนไทยไม่น้อยกว่า 5,300 คน
(ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=4RoQbg1CgOk&list=PLgm36wXFlxy9azSISHpQUN9x0pixpRbL7&index=3)
ที่มา:http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/geological-phenomenon/tsunami
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
พายุ
พายุ
สตอมเสิร์ท (Storm Surge) หรือคลื่นพายุซัดฝั่งเริ่มเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไปเมื่อมีการทำนายว่า มันอาจจะเกิดขึ้นกับเมืองหลวงของไทยอย่างกรุงเทพมหานครที่ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียงแค่ 1 เมตร สตอมเสิร์ท เป็นคลื่นยักษ์ที่ถาโถมเข้าซัดชายฝั่งมีลักษณะที่เหมือนกับคลื่นยักษ์สึนามิจะต่างกันก็เพียง สึนามิคือแรงกระเพื่อมของคลื่นยักษ์ ที่เกิดจากแผ่นดินไหวในขณะที่สตอมเสิร์ทเกิดขึ้นพร้อมกับพายุ แล้วเคลื่อนเข้าซัดฝั่งอย่างรุนแรง
สตอมเสิร์ท(Storm Surge) มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Tidal Surge เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับกับพายุหมุนที่มีลมรุนแรง โดยพายุ จะเกิดขึ้นได้โดย การที่ทะเลและบริเวณใกล้เคียงมีหย่อมความกดอากาศที่แตกต่างกัน โดยพายุหมุนจะเกิดในบริเวณที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Area) ซึ่งเกิดจาก บริเวณพื้นผิวโลกมีความชื้นสูงและมีมวลอากาศอุ่น ทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้น ทำให้เกิดลมพัดเข้ามาหย่อมความกดอากาศต่ำ และเกิดการหมุนตัว เข้าหาจุดศุนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ โดยในซีกโลกเหนือหรือบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรจะมีการหมุนตัวในทิศทวนเข็มนาฬิกา แต่หากเกิดในซีกโลกใต้หรือบริเวณใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา สตอมเสิร์ทจะดันน้ำให้มีระดับสูงขึ้นโดยรอบโดยจะมีลักษณะราบเรียบเท่ากันหมดให้บริเวณพายุแต่ตรงใจกลางพายุหรือที่เรียกว่าตาพายุจะมีระดับน้ำที่สูงกว่าปรกติ
ลมพายุหมุนนั้นนอกจากจะแบ่งระดับความแรงเป็น 3 แบบ คือ
พายุดีเปรสชั่น มีความเร็วลมที่ศูนย์กลางน้อยกว่า 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุโซนร้อน มีความเร็วลมที่ศูนย์กลาง 70 - 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุไต้ฝุ่น มีความเร็วลมที่ศูนย์กลางมากกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แล้วยังแบ่งตาม บริเวณพื้นที่ที่เกิดลมพายุ
1. พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น สหรัฐอเมริกา ทะเลแคริบเบียน บริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก เป็นต้น
2. พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น อ่าวไทย บริเวณทะเลจีนใต้ ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
3. พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น
ลมพายุจะทำให้ระดับน้ำที่เกิดจากแรงของลมพายุมากน้อยนั้นมีอิทธิพลอยู่ 5 ประการ
1 .อิทธิพลความกดอากาศ ความกดอากาศสามารถทำให้ระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นในบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ โดยระดับน้ำจะยกตัวสูงขึ้นประมาณ 10 มิลลิเมตรต่อ ความกดอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป 1 มิลลิบาร์
2. อิทธิพลโดยตรงจากลมพายุ ความสูงชันของลมพายุส่งผลต่อความรุนแรงของพื้นที่ผิวลม หรือที่รู้จักกันในชื่อ ปรากฏการณ์ Ekman Spiral คือระดับน้ำจะยกตัวเพิ่มขึ้นในทิศเดียวกับกระแสลมที่พัดเข้าฝั่ง
3.อิทธิพลของการหมุนตัวของโลก เมื่อเกิดขึ้นคลื่นขึ้นบริเวณซีกโลกเหนือจะทำให้คลื่นเบี่ยงโค้งไปทางขวาของซีกโลกเหนือในขณะที่คลื่นเกิดในซีกโลกใต้คลื่นจะเบี่ยงโค้งไปทางซ้าย และเมื่อโลกเราหมุนรอบตัวเองอยู่ตลอดเวลาก็จะส่งผลให้เพิ่มระดับความสูงคลื่นขึ้นเมื่อคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง และลดระดับความรุนแรงลงเมื่อคลื่นหมุนโค้งออกจากชายฝั่ง
4.อิทธิพลของคลื่น เมื่อเกิดลมพายุ ลมพายุจะยกระดับคลื่นให้ใหญ่และมีทิศทาง เดียวกับการเคลื่อนที่ของลมพายุ โดยส่งผลให้คลื่นมีระดับความรุนแรงขึ้นเมื่อขึ้นสูงฝั่ง
5.อิทธิพลของปริมาณน้ำฝนที่ตก ปริมาณน้ำฝนที่ตกจะมีผลอย่างมากในบริเวณปากแม่น้ำ เพราะจะทำให้ระดับน้ำยกตัวสูงขึ้นออกมากในบริเวณดังกล่าวเมื่อคลื่นจากมหาสมุทรมารวมตัวกันกับน้ำจำนวนมากที่บริเวณปากแม่น้ำก่อนจะซัดเข้าสูฝั่ง
สตอมเสิร์ทในไทย
ผลที่ตามมาเมื่อ มีสตอมเสิร์ทหรือคลื่นพายุซัดฝั่งคือความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งชีวิตและทรัพย์สินในบริเวณชายฝั่ง และในบางครั้งก่อให้เกิดความเสียหายถึงขั้นเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์แถบนั้นไปเลย ภาพที่เห็นชัดที่สุดที่เคยเกิดในประเทศคือเมื่อคราวเกิดพายุ โซนร้อนแฮเรียต พัดเข้าฝั่งที่ แหลมตะลุมพุก อ. ปากพนัง จ. นครศรีธรรมราชในปีพ.ศ. 2505 แม้จะมีระดับความแรงของลมเป็นแค่ พายุโซนร้อนเมื่อเมื่อพัดเข้าหาฝั่งความรุนแรงได้เพิ่มระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ผลของความพินาศจากพายุคราวนั้นถือว่าเป็นความรุนแรงครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติของประเทศไทยเลยทีเดียวผู้เฒ่าผู้แก่เล่าในบ้านแหลมตะลุมพุกขานกันสืบต่อมาว่าพายุในครั้งนั้น มีคลื่นสูงเทียมยอดมะพร้าว โดยผู้ที่รอดชีวิต หลายรายได้ เกาะยอดมะพร้าวโหนโตงเตงเมื่อพายุและสตอมเสิร์ทวิ่งถลาเข้าหาฝั่ง ทำให้เกิดเป็นโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ของไทย ความรุนแรงเกิดขึ้นถึงขั้น ถึงจมโบถส์ทั้งหลังให้จมลงใต้ท้องมหาสมุทร และทิ้งไว้แค่ร่องรอยของความย่อยยับของชุมชมชาวบ้านแหลมตะลุมพุก คำพูดที่เล่าลือเล่าอ้างมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ในพื้นที่คงไม่เกินเลยมามายนักเพราะ จากหลักฐานจาก พบว่า พายุหมุนเขตโซนร้อนแฮเรียต มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 300 กิโลเมตร มีความเร็วลม 180 - 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วในการเคลื่อนที่ 92.622 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีผู้เสียชีวิต 911 คน สูญหายอีก 142 คน บาดเจ็บสาหัส 252 คน บ้านเรือนเสียหายเฉียดครึ่งแสนหลังคาเรือน และส่งผลให้ประชาชน ไม่มีที่อยู่อาศัยอีกกว่าหมื่นคน พายุโซนร้อนแฮเรียดได้สร้างความเสียหายให้กับภาคใต้ แนวชายฝั่งตะวันออกมากถึง 9 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบในโศกนาฎกรรมครั้งนั้น
หรือเมื่อคราวที่พายุเกย์ซัดเข้าหาฝั่งจังหวัดชุมพรในปีพ.ศ. 2532 ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เรารับรู้ถึงภยันตรายของ คลื่นพายุซัดฝั่งหรือสตอมเสิร์ท หรือในปีพ.ศ. 2540 พายุลินดา พัดถล่มชายฝั่งของชุมพร – เพชรบุรีก็เช่นกัน หล่านี้คือความพิโรจที่เกิดจากภัยธรรมชาติที่เรียกว่าสตอมเสิร์ท
สำหรับกรุงเทพมหานครเองไม่เคยได้รับอันตรายจากสตอมเสิร์ทโดยตรง ด้วยสภาพภูมิประเทศ มีทะเลชายฝั่งน้อย แต่ผลกระทบที่กรุงเทพมหานครได้รับมักจะเป็นระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเกิดพายุ ในบริเวณอ่าวไทย เช่นในคราวที่เกิดน้ำท่วมหนักในปี 2504
สภาพทางภูมิศาสตร์ของอ่าวไทยตอนบน ไม่เอื้ออำนวยต่อการเกิดสตอมเสิร์ทครั้งรุนแรงเท่าใดนักเนื่องจากอ่าวไทยตอนบนมักจะมีพายุที่ไม่รุนแรกมากนักโดยมักจะมีความเร็วลมน้อยกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
โดยหากเกิดสตอมเสิร์ทขึ้นในพื้นที่บริเวณกรุงเทพจริงๆก็จะส่งพบกระทบแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น ในบริเวณเขตบางนา ธนบุรี ในบริเวณชายฝั่งบางขุนเทียน – คลองสนามชัยและ บริเวณ ช่วงเหนือคลองสนามชัย ถึง ถ.พระราม 2
สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยของไทยคือ ตลอดแนวชายฝั่งของภาคใต้ตะวันออก คือชุมพร-สงขลา แต่ในบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามันเมื่อเกิดลมพายุขึ้น มักจะเป็นลมพายุที่เคลื่อนตัวออกจากฝั่งทำให้ได้รับผลกระทบจากสตอมเสิร์ทน้อยกว่าฝั่งอ่าวไทย
การรับมือสตอมเสิร์ท
การป้องกันความรุนแรงของสตอมเสิร์ท สามารถทำได้โดย ส่วนแนวทางการลดพิบัติภัยทำได้หลายแนวทาง เช่น การสร้างแนวป้องกันทางทะเลและชายฝั่งเพื่อลดพลังงานของพายุ การสร้างกำแพงป้องกันคลื่น การปลูกป่าชายเลน ซึ่งถือว่าเป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติ
ภัยจากสตอมเสิร์ทเป็นภัยที่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าโดยหน่วยงานรับผิดชอบอย่าง กรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ สามารถคาดการณ์และเตือนภัยล่วงหน้าแก่ พื้นที่เสี่ยงภัยได้ก่อน ในระยะเวลา 5-7 วัน ทำให้สามารถ เตรียมตัวรับมือจากเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากสตอมเสิร์ทได้ เมื่อเกิดสตอมเสิร์ทขึ้นประชาชน ในพื้นที่เสี่ยงภัยต้องไม่ตื่นตระหนก และให้ดำเนินการตามแผนอพยพของของหน่วยกู้ภัย ในพื้นที่ และหากอยู่ในทะเล ปกติ หากอยู่ในทะเล แล้วเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง ให้รีบนำเรือไปหลบคลื่นในบริเวณที่อับลม หรือบริเวณพื้นที่ที่ปลอดภัยทันที
สตอมเสิร์ทเป็นภัยธรรมชาติที่มีมานานไม่ใช้เรื่องใหม่ที่น่าตระหนกจนเกินควรประกอบกับมในปัจจุบันวิทยาการที่ก้าวหน้า ส่งผลให้เราสามารถรับมือกับภัยพิบัติดังกล่าวได้ดีกว่าเก่าก่อนอย่างเช่นโศกนาฎกรรมที่แหลมตะลุมพุก หรือพายุเกย์
สตอมเสิร์ทเป็นผลพวงจากความบ้าคลั่งของวาตภัยซึ่งเราอาจจะต้องเผชิญกับมันได้ทุกเมื่อดังนั้นการเรียนรู้ทำความเข้าใจ และ ปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็คงจะพอลดทอนความเสียหายลงได้
แน่นอนว่าภัยชนิดนี้จะมีมาพร้อมกับการพัดโหมกระหน่ำอย่างบ้าคลั่งของวาตภัย แม้การเกิดพายุอและก่อนที่ลมพายุจะพัดเข้าหาฝั่ง มนุษย์เราสามารถจะทำนายได้นั้น แต่ผลตามมาที่แน่ชัดคือสารพังทลายของสิ่งก่อสร้างอยู่แถบชาติฝั่ง หรือแม้จะอพยพหลบลี้ได้ทันก็ตาม ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญทางภัยธรรมชาติมองว่า ภัยจากสตอมเสิร์ทจะส่งรุนแรงกว่าภัยจากซึนามิ แม้ภัยจากซึนามิสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสัญญาณเตือน แต่การที่ลมพายุเกิดขึ้นทำให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวนและเลวร้ายนั้นย่อมสร้างความเสียหายได้มากกว่า
(ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=uj3tih6anDE&list=PLgm36wXFlxy9azSISHpQUN9x0pixpRbL7)
ที่มา:http://www.vcharkarn.com/varticle/38206
ที่มา:http://www.vcharkarn.com/varticle/38206
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)